Title การสกัดเมล็ดลำไยโดยการใช้เอนไซม์ช่วยในการสกัด Extraction of longan seed (Dimocarpus longan Lour.) using enzymatic
Creator นางสาวเสาวลักษณ์ สุขหนา
Description เมล็ดลำไยเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นองค์ประกอบ วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อต้องการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดลำไย โดยศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้นเอทานอล ที่ระดับ 0% 30% 50% 70% และ 99% และศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้น (0% 1% 3% และ 5%) และระยะเวลาในการบ่มของเอนไซม์เพกทิเนสที่ใช้ร่วมการสกัด (120 150 และ 180 นาที) จากนั้นสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพด้วยเครื่อง Ultrasonic Bath ผลการทดลองพบว่า ตัวทำละลายเอทานอล 50% มีประสิทธิภาพในการสกัดเมล็ดลำไยมากที่สุด ทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteu ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) method และวิธี Ferric reducing ability power (FRAP) assay ผลการทดสอบพบว่า ตัวอย่างที่ถูกย่อยด้วย เอนไซม์เพคติเนสความเข้มข้น 5% บ่มที่ 150 นาที มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุดที่ 49.61?2.10% ทดสอบที่ความเข้มข้น 0.01 mg/ml ตัวอย่างที่ถูกย่อยด้วย เอนไซม์เพคติเนสความเข้มข้น 3% บ่มที่ 150 นาที พบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 397.02?39.45 ?g GAE /mg sample เมื่อทดสอบความสามารถของสารสกัดในการให้อิเล็กตรอนอิสระ (FRAP) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้เอนไซม์เข้ามาช่วยในการสกัดในเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมสามารถสกัดสารสำคัญออกจากเมล็ดลำไยได้ ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อไปได้
Subject ชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-18
2
หน้าปก 2020-03-18
3
รวมทั้งหมด 2020-03-18