Title การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ (Comparison of stool examination techniques for diagnosis liver fluke infections of risk group in Khon Sawan District, Chaiyaphum Province)
Creator นายเมธาวุฒิ พลดอน
Description ชื่อโครงการวิจัย การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตัขของประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ผู้วิจัย นายเมธาวุฒิ พลดอน นางสาวกรชนก ดวงกระโทก สาขาวิชา ชีววิทยา คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2562 อาจารย์ที่ปรึกษา ดร. ปิยะธิดา กุศลรัตน์ ที่ปรึกษา นางสาวภรณ์พิชชา เพชรดี บทคัดย่อ การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยโรคติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับ โดยทำการเก็บตัวอย่างอุจจาระในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จากการตอบแบบสอบถามเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (SUT-OV-001) จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทำการตรวจวินิจฉัย 3 วิธี ได้แก่ Modified Formalin Ethyl-Acetate Concentration Technique (FECT), Mini Parasep Sovent-Free Parasite Concentration Technique (MPSF) และวิธีชีวโมเลกุล (Polymerase Chain Reaction: PCR) ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับร้อยละ 40.0 ความชุกรวมของการติดพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 13.33 ความหนาแน่นรวมของการติดพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 29.49 ผลการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิ ด้วยวิธี FECT พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 5 ราย ได้แก่ รหัส K021, Y007, Y008, Y010 และ Y026 วิธี MPSFC พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 3 ราย ได้แก่ รหัส K021, Y010 และ Y026 และวิธีทางชีวโมเลกุล (PCR) พบผู้ติดเชื้อพยาธิไม้ตับ จำนวน 2 ราย ได้แก่ รหัส K010 และ Y007 เมื่อนำข้อมูลทั้งสามวิธีมาวิเคราะห์หาค่าคาดหมาย ได้แก่ Sencitivity, Specificity และ Positive ? Negative predictive value พบว่าวิธี MPSFC มีค่า Sencitivity, Positive ? Negative predictive value สูงที่สุด และวิธี FECT มีค่า Specificity สูงที่สุด เมื่อพิจารณาวิธีการตรวจวินิจฉัย โดยใช้สถิติ t-test พบว่าทั้งสามวิธีไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวิธี MPSF เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการวินิจฉัย โรคพยาธิใบไม้ตับ ด้วยการประหยัดเวลาในการเตรียม ราคาถูก ระยะสั้น และปลอดภัยมากกว่าวิธี FECT ส่วนวิธีทางชีวโมเลกุล เป็นวิธีที่สามารถยืนยันผลการตรวจทางปรสิตวิทยาได้ คำสำคัญ: โรคพยาธิใบไม้ตับ Modified Formalin Ethyl-Acetate Concentration Technique (FECT) Mini Parasep Sovent-Free Parasite Concentration Technique (MPSF), Polymerase Chain Reaction (PCR), อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ Research title Comparison of stool examination techiques for diagnosis liver fluke infections of risk group in Khon Sawan District, Chaiyaphum Province Authors Mr Metawuth Phondon Miss Kornchanok Duangkrathok Department Biology Faculty Science and Technology Year 2019 Advisor Dr. Piyatida Kusonrat Advisor Miss Pornphichcha Pachde Abstract The comparison of stool examination techniques for diagnosis liver fluke infections of risk group in Khon Sawan District, Chaiyaphum Province. The objectives of the study were to compare parasitological and molecular method for diagnosis liver fluke infection. The stool samples were collected from November 2019. From the questionnaire to screen the risk groups for liver fluke infection (SUT-OV-001) a total number of 30 specimens, and to study in the laboratory from December 2019 to February 2020. Diagnostic 3 methods by Modified Formalin Ethyl-Acetate Concentration Technique (FECT), Mini Parasep Solvent-Free Parasite Concentration Technique (MPSF) and Biomolecular method (Polymerase Chain Reaction, PCR). Results obtained from risk level for liver fluke infection was medium level 40.0%. The prevalence of liver fluke infection was 13.33%. The total Indensity of liver fluke infections was 29.49%. The result 5 specimen by FECT were K021, Y007, Y008, Y010 and Y026. The result 3 specimen by MPSFC were K021, Y010 and Y026. The result 2 specimen by biomolecular (PCR) method were K010 and Y007. Data was analyzed the values by Sensitivity, Specificity and Positive - Negative predictive value, It was found that the MPSFC had the highest Sensitivity, Positive - Negative predictive value and the FECT had the highest Specificity. A comparison between 3 methods and infection was analyzed (P-value>0.05) was not different. This study indicates that MPSFT is one of choice for diagnosis of liver fluke with a short time preparation and safe more than FECT. For biomolecular methods (PCR) Is a method that confirm the results of parasitological examination. Keywords: Liver Fluke Disease, Modified Formalin Ethyl - Acetate Concentration Technique (FECT), Mini Parasep Solvent - Free Parasite Concentration Technique (MPSF), Polymerase Chain Reaction (PCR), Khon Sawan District Chaiyaphum Province
Subject ชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-22
2
หน้าปก 2020-03-22
3
รวมทั้งหมด 2020-03-22