Title เรื่อง ความผันแปรของรูปแบบลวดลายลำตัวด้านหลังของตุ๊กแกป่าตะวันออก (Intermediate Banded Bent - toed Gecko; Crytodactylus intermedius) ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช The variation of dorsa pattern on Intermediate Banded Bent - toed Gecko (Crytodactylus intermedius) in Sakaerat Environmental Station
Creator นางสาวขนิษฐา ภูมิมะนาว
Description สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบรูณ์ของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ป่าในระดับสูง ซึ่งสัตว์ป่าที่สำรวจพบในเขตสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช มีทั้งหมดประมาณ 486 ชนิด เป็นสัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 92 ชนิด ในจำนวนสัตว์ดังกล่าวเป็นสัตว์หายาก ใกล้สูญพันธุ์และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ตุ๊กแกป่าตะวันออก (Intermediate Banded Bent-toed Gecko; Cyrtodactylus intermedius) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผันแปรของตุ๊กแกป่าตะวันออกและเพื่อทดสอบการระบุตัวตนของตุ๊กแกป่าตะวันออกด้วยวิธีการใช้ภาพถ่ายรูปแบบลวดลายบนลำตัวด้านหลังในบริเวณป่าดิบแล้งในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการสำรวจแบบแนวเส้น (line counting) ตามเส้นทางการสำรวจทั้งหมด 3 เส้นทาง คือ เส้นทางการเดินป่าศึกษาธรรมชาติหลักแดง เส้นแนวกันไฟที่ 6 และเส้นทางการเดินป่าศึกษาธรรมชาติหอคอยที่ 2 พบว่า สามารถจัดกลุ่มตัวอย่างตุ๊กแกป่าตะวันออกได้โดยอาศัยรูปแบบลวดลายลำตัวด้านหลัง ได้ดังนี้ ส่วนหัวแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปตัวยูและรูปตัววี ส่วนลำตัวด้านหลังแบ่งเป็น 6 รูปแบบ คือ แถบดำขวางบริเวณลำตัว 5 แถบ แถบดำขวางบริเวณลำตัว 4 แถบ แถบดำขวางบริเวณลำตัว 5 แถบ มีลายขาด แถบดำขวางบริเวณลำตัว 5 แถบ ไม่มีลายขาด แถบดำขวางบริเวณลำตัว 4 แถบ มีลายขาด และแถบดำขวางบริเวณลำตัว 4 แถบ ไม่มีลายขาด และส่วนหางด้านหลัง แบ่งเป็น 5 รูปแบบ 8 คือ สลัดหางทิ้ง หางด้านหลังสีน้ำตาลแถบดำขวางบริเวณหาง 6 แถบ หางด้านหลังสีน้ำตาลแถบดำขวางบริเวณหาง 7 แถบ หางด้านหลังสีน้ำตาลแถบดำขวางบริเวณหาง 8 แถบ หางด้านหลังสีน้ำตาลแถบดำขวางบริเวณหาง 9 แถบ ซึ่งรูปแบบลวดลายส่วนหัวที่พบมากที่สุดคือ รูปตัวยู แถบขวางลำตัวด้านหลังที่พบมากที่สุด คือ แถบขวางด้านหลังลำตัว 4 แถบ และแถบขวางบริเวรหางด้านหลังที่พบมากที่สุดลวดลาย 4 แถบ ในการระบุตัวตนผ่านภาพถ่ายโดยใช้การจำแนกด้วยวิธีการสังเกตความแตกต่างของแต่ละตัวจากบุคคลที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็ตาม พบว่าสามารถระบุตัวตนโดยอาศัยรูปแบบลวดลายบนลำตัวทางด้านหลังที่มีความแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน และการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนของแถบดำขวางบริเวณลำตัวและการมีลายขาดและไม่มีลายขาดไม่สามารถบ่งบอกช่วงวัยของตุ๊กแกป่าตะวันออกว่าเป็นวัยเด็กหรือตัวเต็มวัย
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
หน้าปก 2020-03-23
2
โปสเตอร์ 2020-03-23
3
โปสเตอร์ 2020-03-23
4
รวมทั้งหมด 2020-03-23