Title ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานฝ่ายธุรการของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
Creator นางสาวสุภัทรศร อู่ทองหลาง
Description โครงการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานฝ่ายธุรการของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ ด้วยแบบประเมิน Rapid Upper Limb Assessment (RULA) และจัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ในฝ่ายธุรการ โดยกลุ่มเป้าหมายคือพนักงานสำนักงาน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์คือ Rapid Upper Limb Assessment (RULA) และแบบสอบถาม มีกิจกรรมให้ความรู้โดยการใช้โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และมีการประเมินความรู้ ก่อน-หลัง การให้ความรู้ จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน Rapid Upper Limp Assessment (RULA) ก่อนการให้ความรู้และปรับปรุงท่าทางการปฏิบัติงาน พบว่า ผลการประเมินความเสี่ยง = 4 (อยู่ในระดับที่ 2 คือ ท่าทางที่ยอมรับได้ อาจมีการปรับปรุง) จำนวน 2 คน คิดเป็น ร้อยละ 33.33 ต้องดำเนินการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง ผลการประเมินความเสี่ยง = 5 คะแนน (อยู่ในระดับที่ 3 คือ ท่าทางที่ยอมรับได้ ควรมีการปรับปรุง) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ต้อง ดำเนินการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง และผลการประเมินความเสี่ยง = 7 (อยู่ในระดับที่ 4 คือ ท่าทางที่ยอมรับไม่ได้ ต้องรีบปรับปรุงทันที) จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ต้องดำเนินการจัดท าแผนควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง หลังการให้ความรู้และปรับปรุงท่าทางการปฏิบัติงานร่วมกับการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง และแผนลดความเสี่ยง พบว่า ผลการประเมินความเสี่ยง = 2 (อยู่ในระดับที่ 1 คือ ท่าทางที่ยอมรับ ได้) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 50 และผลการประเมินความเสี่ยง = 3 (อยู่ในระดับที่ 2 คือ ท่าทางที่ยอมรับได้ อาจมีการปรับปรุง) จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 50 พนักงานมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะท่าทางการปฏิบัติงานมากขึ้น วัดผลได้จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้วยแบบประเมิน Rapid Upper Limp Assessment (RULA) พนักงานกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนจากการประเมินความเสี่ยงหลังการให้ความรู้ลดลงจากการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้ความรู้ แสดงให้เห็นว่าพนักงานมีการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงท่าทางการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และคะแนนจากแบบทดสอบการประเมิน ความรู้ ก่อน-หลัง การให้ความรู้ พบว่าพนักงานกลุ่มเป้าหมายสามารถทำแบบทดสอบหลังการให้ ความรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการทำแบบทดสอบก่อนการให้ความรู้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถทำแบบทดสอบผ่านร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการ คือควรจัดระดับการวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม กับระดับสายตา หรือใช้แท่นวางคอมพิวเตอร์ จัดให้มีที่วางเท้าหรือที่พักเท้า ควรมีการพักสายตา ระหว่างเวลาปฏิบัติงานทุกๆ 30 นาที และจัดให้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ ไม่รบกวนเวลาปฏิบัติงาน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
หน้าปก 2020-03-20
2
โปสเตอร์ 2020-03-20
3
เอกสารอ้างอิง 2020-03-20
4
2020-03-20
4
สารบัญตาราง 2020-03-20
5
สารบัญรูปภาพ 2020-03-20
6
บทคัดย่อ 2020-03-20
7
สารบัญ 2020-03-20
8
บทที่ 1 2020-03-20
9
บทที่ 2 2020-03-20
10
บทที่ 3 2020-03-20
11
บทที่ 4 2020-03-20
12
ภาคผนวก 2020-03-20