Title มาตรการอนุรักษ์การได้ยินของ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด และบริษัทในเครือฯ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา Hearing Conservation Program in Sanguan Wongse Industries Co.,LTD And Affiliated Companies
Creator นางสาวแสงระวี แก้วมะดัน
Description จากผลการตรวจสุขภาพแบบเฝ้าระวังปี 2562 มีจำนวนพนักงานที่เข้ารับการตรวจการได้ยินจำนวน 147 คน พบว่าหูของพนักงานมีสมรรถภาพการได้ยินผิดปกติถึง 42 คน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น อายุ เพศ ความบกพร่องส่วนบุคคล และการใช้ยา หรือ ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน จะเห็นว่าปัญหาเรื่องเสียงดังเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน โดยเฉพาะเรื่องการสูญสียการได้ยิน ดังนั้นการป้องกันโรคจึงมีความสำคัญในการช่วยลดอัตราป่วยโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าพนักงานมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง และผลเสียที่จะเกิดกับตัวพนักงาน เป็นการตรวจเพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน เป็นการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังเสียงดัง และจัดทำแผนที่เส้นเสียง (Noise Contour Map) ของบริษัทฯ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารกับพนักงาน โดยกำหนดเป็นพื้นที่บริเวณที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินที่จำเป็นต้องติดป้ายเตือน และกำหนดให้มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง และเป็นการตรวจเพื่อดำเนินการควบคุมเสียง เพื่อนำผลไปพิจารณาหามาตรการในการควบคุม และป้องกันการได้รับเสียงดังเกินมาตรฐานกำหนด โครงการนี้มีวิธีการดำเนินการโดยเริ่มจาก (1)กำหนดนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน (2)เขียนแผนโครงการ/แผนดำเนินโครงการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน (3)ตรียมอุปกรณ์และสื่อ (4)จัดทำแผนผัง (Lay out) ของแต่ละบริษัทฯ (5)ดำเนินการตรวจวัดเสียง (6)จัดทำแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) (7)กำหนดบริเวณพื้นที่การเฝ้าระวังเสียงดังและการเฝ้าระวังการได้ยิน (8)กำหนดมาตรการแก้ไขหรือวิธีการควบคุมเสียงดัง (9)อบรมให้ความรู้พนักงานในพื้นที่เสี่ยง (10)สรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่มรายงานโครงการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน จากการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน พบว่า จากการตรวจวัดเสียงบริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ชโค๊ตติ้ง จำกัด และ บริษัท ทีไฟเบอร์อินโนเวชั่น จำกัด แล้วนำมาจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) พบว่า บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด มีบริเวณปฏิบัติงานที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ และจากการสำรวจ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด บริเวณแผนกผลิต 1 มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลเอ ตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรเป็นจำนวนมาก ทำให้มีเสียงดังเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสกับเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน ประกอบกับถ้าผู้ปฏิบัติงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด บริเวณที่มีเสียงดังคือ Wet process line 8,9,10 เป็นบริเวณที่ไม่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นประจำ ผู้จัดทำจึงได้กำหนดให้แผนกผลิต 1 บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน จึงได้ดำเนินการควบคุมเสียงโดยการกำหนดมาตรการควบคุม ได้แก่ มาตรการด้านวิศวกรรม มาตรการด้านการบริหารจัดการ และมาตรการด้านการแพทย์ และจัดอบรมให้กับพนักงานในแผนกผลิต 1 เพื่อให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง และผลเสียที่จะเกิดกับตัวพนักงาน มีพนักงานที่เข้าร่วมอบรมมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน จำนวน 68 คน โดยมีการกำหนดการฝึกอบรม วันที่ 26 ? 27 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 08.30 ? 09.30 น. และ 16.00 ? 17.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจ และแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กะ ส่วนใหญ่เป็นเพศชายทั้งหมด 40 คน คิดเป็นร้อยละ 58.82 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 50 - 59 ปี ทั้งหมด 25 คน คิดเป็นร้อยละ 36.76 ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา ทั้งหมด 36 คน คิดเป็นร้อยละ 52.94 ส่วนใหญ่เป็นมีสถานภาพสมรส ทั้งหมด 49 คน คิดเป็นร้อยละ 72.04 ส่วนใหญ่ไม่มีโรค ทั้งหมด 42 คน คิดเป็นร้อยละ 61.76 และส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงาน 20 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 32 คน คิดเป็นร้อยละ 47.06 พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานก่อนอบรมของพนักงานกะ 1 พฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.55, S.D. = 0.63) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดี (x ? = 2.95, S.D. = 1.12) พนักงานกะ 2 มีพฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.72, S.D. = 0.39) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดี (x ? = 3.18, S.D. = 0.96) และพนักงานกะ 3 มีพฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.81, S.D. = 0.37) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดี (x ? = 3.21, S.D. = 1.09) หลังอบรม พบว่า พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานหลังอบรมของพนักงานกะ 1 พฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.91, S.D. = 0.18) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.70, S.D. = 0.47) พนักงานกะ 2 มีพฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.94, S.D. = 0.12) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.76, S.D. = 0.42) และพนักงานกะ 3 มีพฤติกรรมทางบวกอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.97, S.D. = 0.07) พฤติกรรมทางลบอยู่ในระดับดีมาก (x ? = 3.70, S.D. = 0.44) และจากการทำแบบทดสอบความรู้ เรื่อง มาตรการอนุรักษ์การได้ยินของบริษัทฯ พบว่า พนักงานทั้ง 3 กะ ทำแบบทดสอบผ่าน 60 เปอร์เซ็นต์ ทั้งก่อนและหลังอบรม โดยพนักงานกะ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.80 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68 พนักงานกะ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.5 และพนักงานกะ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 7.69 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.9 หลังอบรมพบว่า พนักงานกะ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.92 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 89.2 พนักงานกะ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 9.21 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.1 และพนักงานกะ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 9.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 96 ในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินปัญหาที่พบในการดำเนินการจัดทำ คือ การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดังการควบคุมป้องกัน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลแก่พนักงานบางท่านไม่มีเวลาในการเข้ารับฟังการบรรยายจนจบ เพราะ การทำงานในแผนกผลิต 1 มีการเวียนกะทำงานทั้ง 3 กะ ตลอดเวลา จึงได้มีการจัดอบรม 2 วัน เวลา 08.30 ? 09.30 น., 15.00 ? 16.00 และ 16.00 ? 17.00 น. เพื่อให้ได้จำนวนพนักงานตามที่สำรวจก่อนการอบรม และข้อเสนอแนะสำหรับบริเวณที่มีเสียงดังนั้นให้นายจ้างจัดทำและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละพื้นที่เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดังรวมถึงจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากเสียงดังตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-22
2
หน้าปก 2020-03-22
3
รวมทั้งหมด 2020-03-22