Title อาการผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนในพนักงานแผนกตกแต่ง บริษัท ไดซิน จำกัด (สาขา นครราขสีมา)
Creator นายพีรพล จงนอก
Description การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนในพนักงานแผนกตกแต่ง บริษัท ไดซิน จำกัด (สาขา นครราชสีมา) และจัดทำข้อเสนอแนะในการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรง เพิ่มมากขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง จำนวน 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ ไคสแควร์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.8 อยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 56.8 ระดับการศึกษาคือมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 45.9 สถานภาพสมรสแต่งงาน ร้อยละ 62.2 พฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 83.8 ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 51.4 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับสัมผัสความสั่นสะเทือนจากนอกงานร้อยละ 70.3 ส่วนใหญ่มีการใช้งานเครื่องBaby ร้อยละ 32.4 อายุงานที่ทำงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน 3-4 ปี ร้อยละ 27.0 โดยระยะเวลาการสัมผัสความสั่นสะเทือนติดต่อกันนานที่สุดมากกว่า 20 นาที ร้อยละ 81.1 มีการจัดเวลาพักอยู่ที่ 5 นาที ร้อยละ 45.9 อวัยวะที่ได้รับความสั่นสะเทือนมากที่สุดคือ มือ แขน และไหล่ข้างขวา ร้อยละ 73.0 ลักษณะท่าทางการจับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนเป็นการจับแบบแน่นบ้างหลวมบ้าง ร้อยละ 54.1 โดยส่วนใหญ่ยืนปฏิบัติงาน ร้อยละ 89.2 ลักษณะของอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปี ร้อยละ 59.5 มือมีการกระแทกกับชิ้นงานบ้างเป็นบางครั้ง ร้อยละ 59.5 และ ส่วนใหญ่ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ร้อยละ 64.9 การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล(เพศ อายุ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์) และปัจจัยด้านงาน(ประวัติการทำงานในอดีต อายุการปฏิบัติงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน ประเภทของเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน และท่าทางการจับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน) ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.05) ผลการศึกษานี้สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาของกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนในพนักงานแผนกตกแต่ง บริษัท ไดซิน จำกัด (สาขา นครราชสีมา) เพื่อให้สถานประกอบการที่มีการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนนั้นได้ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับพนักงาน ข้อเสนอแนะที่ได้ คือ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพจากเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนกับพนักงานทุกคนที่มีการปฏิบัติงานกับเครื่องมือดังกล่าว นอกจากนี้ควรจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีความสั่นสะเทือนน้อยกว่าที่ใช้อยู่ การสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปฏิบัติงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน การแบ่งเวลาหยุดพักขณะปฏิบัติงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน และการจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับป้องกันหรือช่วยลดความสั่นสะเทือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและลดความรุ่นแรงของอาการผิดปกติที่มือและแขนจากความสั่นสะเทือนจากการปฏิบัติงาน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-24
2
หน้าปก 2020-03-24