Title การจัดการคลังสินค้า
Creator นางสาววราภรณ์ งีเกาะ
Description สำหรับ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด มีจุดให้บริการทั่วประเทศมากกว่า 5,500 จุด มีพนักงานที่อยู่ในความดูแลราว 20,000 คน ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วนภายในวันถัดไป (ND) ด้วยรถยนต์ 4 ล้อ เป็นส่วนใหญ่ ภายใต้สโลแกน ?ส่งไว ส่งชัวร์ ทั่วไทย? มีการจัดส่งพัสดุไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงาน คลังสินค้า ร้านค้ารายย่อย และครัวเรือน รวมถึงลูกค้ารายสำคัญอย่างบริษัทการค้าระหว่างประเทศ บริษัทอีคอมเมิร์ซ การขายสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ หน่วยงานด้านเทคโนโลยี บริษัทโทรคมนาคม สถาบันการเงิน โรงเรียน เรื่อยไปจนถึงร้านค้าปลีกต่างๆ ภายหลังในปี พ.ศ. 2556 เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ได้เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้ารายย่อยหรือบุคคลทั่วไป ให้สามารถส่งสินค้าได้แบบบุคคลถึงบุคคล (C2C) ด้วยการเปิดให้บริการสาขา (Parcel shop) และในช่วงต่อมา ได้ขยายจุดให้บริการไปยังร้านค้าพาร์ตเนอร์ต่างๆ ร่วมด้วยบริการตู้ล็อกเกอร์ ที่ติดตั้งไว้ตามอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยกว่า 70 แห่งในกรุงเทพฯ ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ด้วยการรับ-ส่งพัสดุผ่านทางตู้ล็อกเกอร์ 24 ชั่วโมงตลอดสัปดาห์ ?การเปิดให้บริการกับร้านค้าพาร์ตเนอร์ ช่วยให้ลูกค้าได้เข้ามาใช้บริการเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ถือเป็นการเกื้อกูลธุรกิจซึ่งกันและกัน? ไม่เพียงเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2558 เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ได้ขยายการให้บริการรูปแบบใหม่ภายในกรุงเทพฯ ด้วยรถจักรยานยนต์ เน้นการจัดส่งเอกสารและพัสดุขนาดเล็กภายในวันเดียว เรียกว่า ?แบงค็อก เซมเดย์? โดยเจ้าหน้าที่จะเข้ารับพัสดุภายใน 2 ชั่วโมงหลังลูกค้าจองรถเข้ารับพัสดุ และทำการจัดส่งถึงปลายทางภายในวันเดียวกัน ด้วยการบริการที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดนี้ ทำให้เคอรี่ เอ็กซ์เพรส สามารถจัดส่งพัสดุได้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ของประเทศกว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณการจัดส่งสินค้าไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศเป็นจำนวนทั้งหมดกว่า 1,100,000 กล่อง ต่อวัน จากการศึกษาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาของพื้นที่การจัดเก็บในคลังสินค้าและเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการคลังสินค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ระบบจัดเก็บ กำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System) ซึ่งแนวความคิดในการจัดเก็บสินค้ารูปแบบนี้เป็นแนวคิดที่มาจากทฤษฎีกล่าวคือ สินค้าทุกชนิดนั้นจะมีตำแหน่งจัดเก็บที่กำหนดไว้ตายตัวอยู่แล้ว ซึ่งการจัดเก็บรูปแบบนี้เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก มีจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานไม่มากและมีจำนวนสินค้าที่จัดเก็บน้อย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า พื้นที่ในคลังสินค้านั้นมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ซึ่งไม่พอต่อการวางพัสดุจำนวนมาก ทำให้เกิดความผิดพลาดในการหยิบพัสดุที่เกิดจากการจัดเก็บพัสดุไม่เป็นระเบียบ ใช้เวลาในการค้นหาพัสดุเป็นเวลานาน ตำแหน่งในการวางพัสดุไม่ชัดเจน และอาจเกิดความเสี่ยงที่พัสดุจะสูญหายได้ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้กำหนดแนวทาง ในการปรับปรุงการจัดการคลังสินค้า โดยใช้หลักการ กำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System) และจัดทำชั้นวางลังใส่พัสดุขึ้นมา เพื่อประหยัดเนื้อที่ในคลังสินค้า ให้มีพื้นที่เพิ่มมากขึ้น มีความเป็นระบบระเบียบ ง่ายต่อการค้นหาพัสดุที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น สรุปในการวิจัยครั้งนี้มีการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการพื้นที่ในการจัดเก็บคลังสินค้า การวางตำแหน่งของพัสดุที่ชัดเจน ทำให้การค้นหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว โดยวัดจากการสอบถามความพึงพอใจจากพนักงานทุกคน
Subject การจัดการ, คณะวิทยาการจัดการ
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2020-03-23
2
โปสเตอร์ 2020-03-23
3
รวมทั้งหมด 2020-03-23