Title การศึกษาความสัมพันธ์ของช่วงฤดูกาลที่มีต่อวงรอบการสืบพันธุ์และฮอร์โมนความเครียดของช้างเอเชียที่อยู่ในสภาพเพาะเลี้ยงในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
Creator นายสิริศักดิ์ เสาร์สายออ
Description การศึกษาความสัมพันธ์ของช่วงฤดูกาลที่มีต่อวงรอบการสืบพันธุ์และฮอร์โมนความเครียดของช้างเอเชียที่อยู่ในสภาพเพาะเลี้ยงในสวนสัตว์เปิดเขาเขียว การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฮอร์โมนความเครียด(Stress hormone) และฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) และศึกษาความสัมพันธ์ของช่วงฤดูกาลที่มีผลต่อวงรอบการเป็นสัด (Estrus) ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2561 ถึงกรกฎาคม 2562 ทำการวิเคราะห์ค่าปริมาณฮอร์โมนด้วยวิธีการตรวจแบบใช้แอนติบอดีสองตัว (Two antibody EIA) จากตัวอย่างมูลช้างจำนวน 8 เชือก (อายุระหว่าง 7 - 45 ปี) ผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน(Progesterone) ในมูลช้างเพศเมีย 4 เชือก (n=506) พบว่ามีค่าเฉลี่ย (Mean?SD) เท่ากับ 596?350 นาโนกรัมต่อกรัมของมูลแห้ง (ng/g) มีค่าอยู่ในช่วง 58.21 ? 3,404.50 ng/g ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเชือก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาค่าปริมาณ ฮอร์โมนเพศในแต่ละช่วงฤดูกาลพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดยฤดูกาลไม่มีผลต่อความยาวนานของวงรอบการเป็นสัด (estrus) จากการศึกษาปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในตัวอย่างมูลช้างเอเชียเพศผู้ จำนวน 4 เชือก (n=504) พบว่ามีค่าเฉลี่ยปริมาณฮอร์โมน (Mean?SD) เท่ากับ 472?346 ng/g และ 137?84 ng/g ตามลำดับทั้งนี้พบว่าค่าปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในแต่ละช่วงฤดูกาล จะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยในช่วงฤดูหนาวฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศผู้ทั้ง 4 เชือก จะมีค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งสอดคล้องกันกับการที่พบว่าในระหว่างช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมของทุกปี ช้างเพศผู้จะมีพฤติกรรมการตกมัน (Musth) และในช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะมีระดับของคอร์ติโคสเตอโรนสูง ซึ่งมีแนวโน้มความสัมพันธ์กันในเชิงบวก (P<0.01; r>0.4)
Subject เทคนิคการสัตวแพทย์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-03-26
2
รวมทั้งหมด 2021-03-26