Title มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อป้องกันอันตรายจากเสียงดัง ในบริษัท สงวนวงษ์เอ็นเนอร์ยี จำกัด
Creator นางสาวจันทิรา กุลวงษ์
Description โครงการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน เพื่อป้องกันอันตรายจากเสียงดัง ในบริษัท สงวนวงษ์เอ็นเนอร์ยี จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการเพื่อให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการทำงานในที่ที่มีเสียงดัง เพื่อทบทวนมาตรการควบคุมและป้องกันอันตรายที่เกิดจากเสียงดังในพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน และเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน สำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของบริษัทฯ โดยมีการทบทวนนโยบายมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดังโดยการตรวจวัดระดับเสียง การเฝ้าระวังการได้ยินโดยการให้พนักงานของบริษัททุกคนเข้ารับการตรวจสมรรภาพการได้ยิน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการดำเนินโครงการได้มีการทบทวนนโยบายมาตรการอนุรักษ์การได้ยินของบริษัทฯ ในส่วนของการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการตรวจวัดระดับเสียงของอาคาร Power Plant จำนวน 72 จุด พบว่ามีระดับเสียงดังเกินมาตรฐาน 85 เดซิเบลเอ จำนวน 50 จุด มีระดับความดังของเสียงสูงสุด เท่ากับ 112.6 เดซิเบลเอ และตรวจวัดระดับเสียงของอาคาร MCC 1 จำนวน 50 จุด พบว่ามีระดับเสียงดังเกินมาตรฐาน 85 เดซิเบลเอ จำนวน 46 จุด มีระดับความดังของเสียงสูงสุด เท่ากับ 102.1 เดซิเบลเอ จากการดำเนินการเฝ้าระวังเสียงดังสามารถข้อมูลของระดับเสียงดังเกินมาตรฐาน 85 เดซิเบลเอ ที่ได้มาดำเนินการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยได้มีจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง ป้ายเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน และการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดทำเป็นเอกสารประกาศ เรื่อง หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ของบริษัทฯ นอกจากนี้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินให้กับพนักงานทุกคนของบริษัทฯ จำนวน 43 คน จากการอบรมและได้ทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีพนักงานที่มีคะแนนจากการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้น จำนวน 28 คน (คิดเป็นร้อยละ 65.11) พนักงานที่มีคะแนนจากการทำแบบทดสอบลดลง จำนวน 1 คน (คิดเป็นร้อยละ 2.33) และพนักงานที่มีคะแนนจากการทำแบบทดสอบเท่าเดิม จำนวน 14 คน (คิดเป็นร้อยละ 32.56) จากผลการตรวจวัดระดับเสียงของบริษัทฯและการดำเนินการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน สำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทฯ ในอนาคตได้ จากผลการดำเนินการโครงการดังกล่าว ควรมีการอบรมให้ความรู้กับพนักงาน เกี่ยวกับอันตรายของเสียงดังในสถานที่ทำงานและการอบรมวิธีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ควรมีการทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร แผนการตรวจวัดระดับความดังของเสียง การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการทบทวนมาตรการป้องกันอันตรายจากเสียงดัง อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-03-26
2
รวมทั้งหมด 2021-03-26