Title โครงการประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ของพนักงาน ในกระบวนการผลิตเบรก ( Ergonomic Rick Assessment in brake manufacturing processes )
Creator นางสาวศศิกันยา มรรครมย์
Description โครงการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานในกระบวนการผลิตเบรก บริษัท ฮิตาชิ ออโตโมทีฟ ซิสเต็มส์ โคราช จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเมื่อยล้าของร่างกายโดยใช้ Body Discomfort เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ของพนักงานผลิตเบรกด้วยเครื่องมือ Rapid Entire Body Assessment (REBA) และเพื่อให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ โดยกลุ่มเป้าหมายคือพนักงานกระบวนการผลิตเบรก แผนก Machine ชุบ Zinc Piston ผ้าเบรก และ Assembly เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ Body Discomfort และ Rapid Entire Body Assessment ( REBA ) และมีการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ จากการประเมินความเมื่อยล้าของร่างกายโดยใช้ Body Discomfort พบว่าไลน์การผลิต Machine มีอาการเมื่อยล้าระดับมาก พบสูงสุดที่ตำแหน่ง หลังส่วนล่าง ซ้าย-ขวา ร้อยละ 15.38 ไลน์การผลิตชุบ Zinc มีอาการเมื่อยล้าระดับมากเกินทนไหว พบสูงสุดที่ตำแหน่ง ไหล่ ซ้าย-ขวา หลังส่วนบน ซ้าย-ขวา แขนส่วนบน ซ้าย-ขวา ข้อศอก ซ้าย-ขวา แขนส่วนล่าง ซ้าย-ขวา มือ-ข้อมือ ซ้าย-ขวา สะโพก-ต้นขา ซ้าย-ขวา ร้อยละ 100 ไลน์การผลิต Piston พบว่ามีอาการเมื่อยล้าระดับมากเกินทนไหว พบสูงสุดที่ตำแหน่ง หลังส่วนล่าง ซ้าย-ขวา หัวเข่า ซ้าย-ขวา ร้อยละ 66.66 ไลน์การผลิต ผ้าเบรก พบว่ามีอาการเมื่อยล้าระดับมาก พบสูงสุดที่ตำแหน่งสะโพก-ต้นขา ซ้าย-ขวา ร้อยละ 100 ไลน์การผลิต Assembly พบว่ามีอาการเมื่อยล้าระดับมากเกินทนไหว พบสูงสุดที่ตำแหน่ง หลังส่วนบนขวา ร้อยละ 11.76 จากการประเมินระดับความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์โดยใช้ Rapid Entire Body Assessment (REBA) พบว่าไลน์การผลิต ชุบ Zinc คนที่ 1 และคนที่ 2 มีคะแนนความเสี่ยง 12 คะแนน มีความเสี่ยงสูงมาก ควรปรับปรุงทันที รองลงมาอันดับสองคือไลน์การผลิต Machine carrier ไลน์การผลิต Piston G/C และไลน์การผลิต Piston ชุบ Cr มีคะแนนความเสี่ยง 10 คะแนน มีความเสี่ยงสูง ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและรีบปรับปรุง รองลงมาอันดับสามไลน์การผลิต Machine cylinder ไลน์การผลิตผ้าเบรกใส่เซ็นเซอร์และไลน์การผลิต Assembly คนที่ 11 มีคะแนนความเสี่ยง 7 คะแนน มีความเสี่ยงปานกลาง ควรวิเคราะห์เพิ่มเติมและควรได้รับการปรับปรุง ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการ คือปรับปรุงสถานีงานเพื่อภาระของส่วนต่างๆที่รู้สึกปวดเมื่อยลดลง ให้ความรู้หรือจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำงานที่ถูกตามหลักการยศาสตร์เพื่อแนะนำท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน นำเครื่องมือวัดมือทางการยศาสตร์อื่นๆเพื่อช่วยให้ได้ข้อมูลที่ดีหลายด้านและละเอียดแน่ชัดขึ้น จัดให้มีการสลับหมุนเวียนงานที่มีลักษณะคล้ายกัน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-03-26
2
รวมทั้งหมด 2021-03-26