Title การยศาสตร์กับการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย(Ergonomics For Safety Work)
Creator นางสาวดวงหทัย กลมสันเทียะ
Description โครงการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในสำนักงานของพนักงานทุกแผนกในสำนักงานในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา2(หัวทะเล) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ ด้วยแบบประเมินRapid Upper Limb Assessment(RULA)และจัดทำมาตรการลดความเสี่ยงปัญหาการยศาสตร์ เพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน โดยกลุ่มเป้าหมายคือพนักงานในสำนักงานทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน Rapid Upper Limb Assessment(RULA) และแบบสอบถาม มีกิจกรรมให้ความรู้โดยใช้โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์และมีประเมินก่อน-หลัง การให้ความรู้ จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมินRapid Upper Limb Assessment(RULA)ก่อนให้ความรู้และปรับท่าทางปฏิบัติงาน พบว่า ผลการประเมินความเสี่ยง=4 อยู่ในระดับที่2คือท่าทางที่ยอมรับได้ อาจมีการปรับปรุง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ60 ต้องดำเนินการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง ผลการประเมินความเสี่ยง=5 คะแนน(อยู่ในระดับที่3 คือท่าทางที่ยอมรับได้ ควรมีการปรับปรุง) จำนวน 7คน คิดเป็นร้อยละ35 ต้องดำเนินการจัดทำดำเนินการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงและแผนลดความเสี่ยง และผลการประเมินความเสี่ยง=7(อยู่ในระดับที่4 คือ ท่าทางที่ยอมรับไม่ได้ ต้องรีบปรับปรุงทันที) จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ต้องดำเนินการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงและแผนลดความเสี่ยง หลังการให้ความรู้และปรับท่าทางการปฏิบัติงานร่วมกับการจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงและแผนลดความเสี่ยง พบว่า ผลประเมินความเสี่ยง=2 อยู่ในระดับที่1 คือท่าทางที่ยอมรับได้ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ50 และผลการประเมินความเสี่ยง=3อยู่ในระดับที่2คือท่าทางที่ยอมรับได้ อาจมีการปรับปรุง จำนวน คน10 คิดเป็นร้อยละ 50 พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะท่าทางการปฏิบัติงานมากขึ้น วัดผลได้จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมินRapid Upper Limb Assessment(RULA)พนักงานกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนจากการประเมินความเสี่ยงหลังการให้ความรู้ลดลงจากการประเมินความเสี่ยงก่อนให้ความรู้ แสดงให้เห็นว่าพนักงานมีการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงท่าทางการปฏิบัติงานให้ถูกหลักการยศาสตร์และคะแนนจากแบบทดสอบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการให้ความรู้ พบว่าพนักงานกลุ่มเป้าหมายสามารถทำแบบทดสอบหลังการให้ความรู้ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการทำแบบทดสอบก่อนให้ความรู้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสามารถทำแบบสอบผ่านร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการ คือควรจัดระดับการวางหน้าคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับระดับสายตา หรือใช้แท่นวางคอมพิวเตอร์ จัดให้มีที่วางเท้าหรือที่พักเท้า ควรมีการพักสายตาระหว่างเวลาปฏิบัติงานทุก ๆ 30 นาที และจัดให้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อในพื้นที่ปฏิบัติงานโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆไม่รบกวนเวลาปฏิบัติงาน
Subject อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-03-26
2
รวมทั้งหมด 2021-03-26