Title การกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้ของป่าเต็งรัง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
Creator นางสาวภาวิดา วรรณกุล
Description บทคัดย่อ การศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้ของป่าเต็งรัง ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจชนิด ปริมาณ สัดส่วน วิเคราะห์ และประเมินหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้ พื้นที่ป่าเต็งรัง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช โดยวางแปลงย่อยในแปลงถาวรแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) ขนาด 50?50 เมตร จำนวน 8 แปลง บริเวณป่าเต็งรังของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และวัดสัดส่วนต่างๆ ของต้นไม้ เพื่อนำไปหามวลชีวภาพเหนือดินจากสมการแอลโลเมตตรีและนำไปวิเคาระห์หาปริมาณคาร์บอนในต้นไม้ การศึกษาประเมินการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้ของป่าเต็งรังบริเวณแปลงป่าถาวรของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช พบว่า มีจำนวนต้นไม้ทั้งหมด 537 ต้น 17 วงศ์ 30 ชนิด โดยวงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์ไม้ยาง (DIPTEROCARPACEAE) จำนวน 256 ต้น รองลงมา วงศ์ถั่ววงศ์ย่อยประดู่ (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE) จำนวน 128 ต้น และ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE) จำนวน 45 ต้น ชนิดที่พบมากที่สุด คือ รัง (160 ต้น) รองลงมา ประดู่ป่า (114 ต้น) และ เต็ง (54 ต้น) ตามลำดับ มวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวม (Wt) ชนิดที่มีมวลชีวภาพสูงที่สุด คือ รัง (46,263.50 kg) รองลงมา คือ ประดู่ป่า (16,494.02 kg) และ เต็ง (11,628.41 kg) ตามลำดับ ชนิดที่มีค่าการกักเก็บคาร์บอนรวมสูงสุด คือ รัง (20.962 ตัน/2 เฮกตาร์) รองลงมา คือ ประดู่ป่า (7.529 ตัน/2 เฮกตาร์) และ เต็ง (5.334ตัน/2 เฮกตาร์) ตามลำดับ และ เมื่อนำตัวแปลต่างๆ มาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่าค่าการกักเก็บคาร์บอนและค่า IVI มีความสัมพันธ์กันแบบทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าเท่ากับ 0.99 จากค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินและค่าการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ค่าการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ขึ้นอยู่กับค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของต้นไม้ ซึ่งค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินนั้นแปรผันตาม ชนิด ขนาด และจำนวนของต้นไม้ชนิดนั้นๆ อีกด้วย
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2022-05-07
2
หน้าปก 2022-05-12