Title การจัดการพื้นที่และแผนผังคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) สำหรับสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา YPS Logistics The Arrangement of Cross dock Warehouse Area for electronic parts, case study of Ying paisan Logistics Limited Partnership
Creator นายธนนนท์ ไวยขุนทด
Description ห้างหุ้นส่วนจำกัดยิ่งไพศาลโลจิสติกส์ (YPS Logistics) ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ และขนส่งสินค้าข้ามแดน จึงต้องมีการลงทุนเช่าพื้นที่สำหรับทำศูนย์กระจายสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ปัจจุบันบริษัท YPS Logistics ได้มีการวางแผนที่จะสร้างคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า Cross dock สินค้าจะอยู่ในกระบวนการภายในคลัง 3 ส่วนได้แก่ ส่วนรับสินค้า ,ส่วนคัดแยก-รวบรวม ,ส่วนจัดส่ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงเท่านั้น จึงทำให้ต้องมีการวางแผน หาข้อมูล และวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย ,พื้นที่จัดเก็บ สำหรับจัดตั้งคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า Cross dock เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการจัดการพื้นที่คลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) 2.เพื่อออกแบบแผนผังในการจัดการคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) พบว่า คำนวณหาพื้นที่ทั้ง 3 ส่วน สามารถออกแบบแผนผังคลังได้ ซึ่งคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) ที่มีลักษณะยาวและแคบ เป็นรูปร่างตัวไอ (I) สาเหตุที่เลือกรูปร่างตัวไอคือ ปริมาณ พาเลท/วัน ไม่ได้มีจำนวนมาก ทำให้การเลือกรูปร่างนี้มีความสะดวกมากที่สุด ลดต้นทุนมากที่สุด และคาดว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยมีระยะทางน้อยที่สุด จะเห็นได้ว่าสินค้าจะไหลเป็นเส้นตรงจากรถบรรทุกขาเข้าไปยังรถบรรทุกขาออก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าแรง วิเคราะห์ส่วนที่สอง ส่วนSorting (รวม-คัดแยก) เนื่องจากคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock) ไม่ได้ต้องการการจัดเก็บสินค้าทั้งหมด แต่องค์กรก็จะต้องคำนึงถึงการมีพื้นที่ให้เพียงพอต่อจำนวนพาเลทที่จะเข้ามา ซึ่งจะได้พื้นที่ที่ใช้วางพาเลททั้งหมด 135x0.99 = 133.65 ตารางเมตร ต่อมาทำการออกแบบทางเดินที่มีความกว้าง 3 เมตร 3 ช่องจะได้ 227.7 ตารางเมตร เมื่อนำพื้นที่ทางเดินทั้งหมด+พื้นที่วางพาเลททั้งหมดจะได้ 133.65+227.7 = 361.35 ตารางเมตร พื้นที่ส่วน Sorting รวมทั้งหมดแล้วจะได้ กว้าง 15 เมตร x ยาว 29.3 เมตร = 439.5 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนรับสินค้า คำนวณเป็นอันดับที่สอง กำหนดให้ส่วนนี้มี 2 ชัตเตอร์มีความกว้าง 3 เมตร เนื่องจากรถรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมี Capacity มากที่สุด คือรถ 6 ล้อ 7 เมตร ซึ่งมีความกว้าง 2.4 เมตร ยาว 7.2 เมตร และได้กำหนดให้มีพื้นที่ส่วนรับสินค้า 2 ส่วนได้แก่ส่วน A, C โซนA และโซนC จะมีพื้นที่ 4 x 10 = 40 ตารางเมตร = 40 x 2 = 80 ตารางเมตร พื้นที่ทั้งหมด 15 เมตร x 14 เมตร = 210 ตารางเมตร จากนั้นหาทางเดินทั้งหมดได้จากการนำพื้นที่ 210 ? 80 = 130 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนจัดส่งสินค้า จะคำนวณเป็นส่วนสุดท้าย ซึ่งความกว้างของตัวคลังจะเท่า 2 ส่วนแรก คือจำกัดความกว้างที่ 15 เมตร และในคลังจะมีการจัดส่งสินค้าทั้งหมด 16 รอบ/วัน กำหนดให้มีชัตเตอร์ 2 ชัตเตอร์กว้าง 3 เมตรเหมือนส่วนรับสินค้าจะสามารถออกแบบแผนผังได้โดย พื้นที่เตรียมส่งลูกค้าส่วนที่ 1,2,3 กว้าง 3 เมตร , ยาว 10 เมตร จะได้พื้นที่ 3x10 = 30 ตารางเมตร นำมาคูณกับช่องเตรียมส่ง 30x3 = 90 ตารางเมตร ทำการหาทางเดินซึ่งจะได้ 10+20+20+10+30 =90 ตารางเมตร และพื้นที่ส่วนรับทั้งหมด กว้างxยาว= 15x12 = 180 ตารางเมตร คำนวณหาส่วนอื่นๆ ที่ทางสถานประกอบการได้กำหนดว่าต้องมี ได้แก่ ออฟฟิศ ห้องน้ำ ห้องจัดเก็บสินค้าที่มีตำหนิและต้องส่งกลับ ห้องเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ห้องพักพนักงาน และที่จอดรถ จากนั้นจะทำการดูกฎหมายผังเมืองเพื่อหาระยะร่นของอาคารคลังสินค้าว่า อาคารคลังสินค้าที่มีพื้นที่ทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างจากเขตที่ดิน 10 เมตรสองด้าน 5 เมตรสองด้าน จากนั้นทำการออกแบบ 3 มิติโดยใช้เว็บไซต์ Icograms
Subject การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะวิทยาการจัดการ
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-12-04
2
หน้าปก 2021-12-04
3
รวมทั้งหมด 2021-12-04