Title การจัดการความรู้ด้านการจัดทำนิทรรศการของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)
Creator นางสาวขวัญฤทัย รสหอม
Description ในการวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ด้านการจัดทำนิทรรศการของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาขั้นตอนการจัดทำนิทรรศการของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) 2.เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ด้านการจัดทำนิทรรศการของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ (Interview) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) โดยวิเคราะห์ตีความจากเอกสารและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ จากนั้นเป็นการเขียนนำเสนอรายงานในรูปแบบความเรียงเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า 1. ขั้นตอนการจัดทำนิทรรศการมี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดโจทย์ โดยมาจากแผนการปรับปรุงชิ้นงานจัดแสดงของสำนักพัฒนาพิพิธภัณฑ์และองค์ความรู้ ภายใน 12 ชิ้นงาน 2) กำหนดแนวคิด โดยต้องคำนึงถึง โจทย์ เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ และ สถานการณ์สังคมในปัจจุบัน 3) จัดทำโครงร่างเนื้อหา/รูปแบบนิทรรศการ โดยมีโครงร่างพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ บทนำ เนื้อหา สรุป โดย 3 ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึง โจทย์ วัตถุประสงค์ แนวคิด กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ 4) ออกแบบนิทรรศการ โดยการออกแบบขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ได้รับมา ดูเป้าหมายของงาน รูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา 5) ผลิตนิทรรศการ โดยเลือกใช้อุปกรณ์ช่างที่เหมาะสมในการผลิตชิ้นงาน เลือกวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทของงาน 6) ติดตั้ง โดยมีการสำรวจพื้นที่ กำหนดประเภทวัสดุ ผลิตชิ้นงาน และติดตั้ง 7) สรุปผลการดำเนินงาน โดยสรุปหลังจากจบงานนิทรรศการ เสนอข้อดี ข้อเสีย ข้อเสียแนะ เพื่อจัดทำนิทรรศการชิ้นต่อไป 2. การจัดการความรู้ด้านการจัดทำนิทรรศการ พบว่า มี 7 กระบวนการ ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ โดยมีวิธีการโดยระบุความรู้ที่จำเป็นและต้องใช้ในการทำนิทรรศการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำนิทรรศการ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ โดยใช้วิธีการสื่อสาร ปรึกษาหารือ ศึกษาดูงานภายนอกสำนักงาน 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ โดยใช้วิธีการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ที่สามารถค้นหาได้ง่าย 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ โดยนำองค์ความรู้ที่ได้มาจับประเด็นวิเคราะห์ เรียบเรียงในภาษาที่เข้าใจง่าย ครบถ้วน 5) การเข้าถึงความรู้ โดยมีวิธีการ 2 แบบ คือ การป้อนองค์ความรู้โดยการส่งต่อองค์ความรู้แจ้งเวียน และจัดเก็บองค์ความรู้ส่วนกลางเพื่อให้สามารถสืบค้นข้อมูลในเวลาที่ต้องการ 6) การแลกเปลี่ยนความรู้ โดยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่สำนักและนอกสำนัก 7) การเรียนรู้ โดยวิธีการนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบการจัดแสดง และส่งเสริมการจัดทำนิทรรศการอย่างต่อเนื่อง
Subject การพัฒนาสังคม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2023-04-25
2
รวมทั้งหมด 2023-04-25