Title ผลของการใช้วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ในพื้นที่ดินเค็มที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50
Creator นายนวพล ชำนาญพุดซา
Description การศึกษาผลของการใช้วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ในพื้นที่ดินเค็มที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และ 2) ศึกษาคุณสมบัติเคมีของดินในช่วงก่อนปลูกและช่วงระยะเจริญเติบโตในการปลูกอ้อย โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก ประกอบด้วย 6 ตำรับการทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ ดังนี้ตำรับการทดลองที่ 1 วิธีเกษตรกร, ตำรับการทดลองที่ 2 การใส่วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ, ตำรับการทดลองที่ 3 การใส่ปุ๋ยหมัก ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ, ตำรับการทดลองที่ 4 การใส่วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ ร่วมกับปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ, ตำรับการทดลองที่ 5 การใส่วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ ร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยเคมี (ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน) และน้ำหมักชีวภาพ และตำรับการทดลองที่ 6 การใส่ปุ๋ยเคมี(ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน) ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ในวงซีเมนต์ทั้งหมด 18 วงซีเมนต์ จำนวน 2 ท่อนต่อ 1 วงซีเมนต์ ขนาดท่อนละ 20 เซนติเมตร ได้ศึกษาการใช้วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ต่อการเจริญเติบโตของอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ผลการศึกษาพบว่าอ้อยอายุ 3 เดือน ตำรับการทดลองที่ T4 มีความสูงต้นสูงที่สุด คือ 27.06 เซนติเมตร และอ้อยอายุ 6 เดือน ตำรับการทดลองที่ T3 มีความสูงต้นสูงที่สุด คือ 30.60 เซนติเมตร การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของดินก่อนปลูก และระหว่างการปลูกอ้อย ผลการศึกษาพบว่า ดินช่วงระหว่างการปลูกอ้อยเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนปลูกทุกตำหรับการทดลองมีแนวโน้มคุณสมบัติทางเคมีของดินดีขึ้น คือ ค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น ค่าการนำไฟฟ้าของดินลดลง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าการใช้วัสดุเหลือใช้จากปูนปลาสเตอร์ในดินเค็มมีประสิทธิภาพสามารถปรับสภาพดินให้ดีขึ้น
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2024-04-22
2
รวมทั้งหมด 2024-04-22
3
รวมทั้งหมด 2024-04-22