Title การจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอร์รี่ ในสภาพโรงเรือน
Creator นางสาวนุสรา เหล่าฤทธิ์
Description สถานการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ในประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ โดยมะเขือเทศเป็นพืชผักที่มีศักยภาพการสร้างมูลค่าในการส่งออกเมล็ดพันธุ์ เป็นลำดับสองรองจากเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ทำให้ความต้องการในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ให้มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์ สูงขึ้น ดังนั้นการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ในสภาพโรงเรือนที่มีความแตกต่างกันจะทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกัน งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการธาตุอาหารให้มีความเหมาะสมต่อคุณภาพผลผลิตและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของมะเขือเทศเชอร์รี่ จากการศึกษาการจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเขือเทศเชอร์รี่ในสภาพโรงเรือน โรงเรือนระบบเปิดในกรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เเละใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก 15 วัน เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนเปลี่ยนสีใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่โดยใส่ทุก 20-30 วัน ให้การเจริญเติบโตไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยละลายช้า (lBDU) สูตร 20-5-8 อัตรา 20 กรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ 8 กรัมต่อต้น พร้อมกับการย้ายต้นกล้าลงถุงปลูก เเละครั้งที่ 2 ใส่ 12 กรัมต่อต้น หลังจากครั้งเเรก 30 วัน แต่จะให้ผลผลิตได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น โรงเรือนระบบปิดในกรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เเละใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก 15 วัน เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนเปลี่ยนสีใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่โดยใส่ทุก 20-30 วัน ให้การเจริญเติบโต เช่น ความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น และผลผลิตได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น และยังพบอีกว่าในกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยละลายช้า (lBDU) สูตร 20-5-8 อัตรา 20 กรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใส่ 8 กรัมต่อต้น พร้อมกับการย้ายต้นกล้าลงถุงปลูก เเละครั้งที่ 2 ใส่ 12 กรัมต่อต้น หลังจากครั้งเเรก 30 วัน ให้การเจริญเติบโต เช่น จำนวนดอกต่อช่อ และจำนวนช่อต่อต้น ได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น ดังนั้นการจัดการธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอร์รี่ในสภาพโรงเรือน ที่เหมาะสมจึงเป็นการปลูกในสภาพโรงเรือนปิด และธาตุอาหารที่เหมาะสม คือ การใส่ปุ๋ยในกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เเละใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก 15 วัน เมื่อผลเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนเปลี่ยนสีใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่โดยใส่ทุก 20-30 วัน
Subject เกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2024-04-20
2
หน้าปก 2024-04-23
3
เอกสารอ้างอิง 2024-04-23
4
รวมทั้งหมด 2024-04-23
5
2024-04-23
5
สารบัญตาราง 2024-04-23
6
สารบัญรูปภาพ 2024-04-23
7
ประวัติผู้จัดทำ 2024-04-23
8
บทคัดย่อ 2024-04-23
9
สารบัญ 2024-04-23
10
บทที่ 1 2024-04-23
11
บทที่ 2 2024-04-23
12
บทที่ 3 2024-04-23
13
บทที่ 4 2024-04-23
14
บทที่ 5 2024-04-23
15
ภาคผนวก 2024-04-23