Title การตรวจจับควันดำรถบรรทุกและรถโดยสารตามพรบ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 และรถยนต์ดีเซลตามพรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
Creator นางสาวนุชนาฏ จงเด่นกลาง
Description การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสถานการณ์คุณภาพอากาศในภาพรวมทั่วประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (ฝุ่นละออง PM 2.5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่ เกิน 10 ไมครอน(ฝุ่นละออง PM10) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และพบก๊าซโอโซนเกินค่ามาตรฐานในหลาย พื้นที่ โดยในปี 2566 จังหวัดที่มีปัญหาคุณภาพอากาศมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ พิษณุโลก กรุงเทพมหานคร สุโขทัย น่าน มุกดาหาร ซึ่งมีจำนวนวันที่คุณภาพอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 121 120 106 101 และ 101 วัน ตามลำดับ สำหรับจังหวัดคุณภาพอากาศดีที่สุดไม่พบคุณภาพ อากาศเกินค่ามาตรฐานมี 5 จังหวัด ได้แก่ ตรัง ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตามลำดับ สำหรับสารมลพิษชนิดอื่น ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่พบการเกินค่ามาตรฐาน และค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (กรม ควบคุมมลพิษ,2566) ภาพรวมของสถานการณ์คุณภาพอากาศ ปี 2566 เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การขยายตัวทาง เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจากปี 2565 มีการเพิ่มขึ้นของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในด้านต่าง ๆ อาทิ จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การทำการเกษตรกรรมที่ยังคงมีกระบวนการเผาในที่โล่ง ทั้งในพื้นที่เกษตรเพื่อผลิตสินค้าทางการเกษตรในการรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือการเผา นอกพื้นที่เกษตร เช่น พื้นที่ป่า เกิดไฟในป่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการลักลอบเผา การคมนาคม ขนส่ง การจราจร และปริมาณการใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงยังคงมีปริมาณมาก ซึ่งเป็น แหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่เขตเมือง สภาพรถ/ยานพาหนะที่มีอายุการใช้งานหลายปี และปัญหา หมอกควันข้ามแดนที่มีผลกระทบทำให้สถานการณ์ในปี 2566 มีความรุนแรงขึ้น ต่อมลพิษทางอากาศ ในประเทศอีกด้วยอย่างไรก็ตามมีการบริหารจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5 และ ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ โดยการจัดตั้งศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) เพื่อบูรณาการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องภายได้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง และ แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ใขปัญหาด้านฝุ่นละออง มีการพัฒนาระบบพยากรณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า 7 วัน การแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5เพื่อให้หน่วยงานและประชาชนเตรียมรับมือ สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที(กรมควบคุมมลพิษ, 2566)
Subject วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2025-04-28
2
หน้าปก 2025-04-28
3
รวมทั้งหมด 2025-04-28