Description
|
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาอุบัติการณ์การเกิดโรคย้อนหลังของโรคพยาธิในทางเดินอาหารของสุนัขและแมว ที่ตรวจด้วยเครื่อง D ? Wise ของทางโรงพยาบาลสัตว์วุฒิเลิศการุณ ในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ซึ่งพบอุบัติการณ์การติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารของสุนัขจำนวน 19 ตัว คิดเป็นร้อยละ 18.63 พบความชุกของการติดเชื้อ Hookworms มากที่สุด รองลงมาคือ Roundworms, Coccidia, Tapeworms และ Trichomonas คิดเป็นร้อยละ 9.80, 5.88, 2.94, 2.94 และ 1.96 ตามลำดับ และพบอุบัติการณ์การติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารของแมวจำนวน 22 ตัว คิดเป็นร้อยละ 25.00 พบความชุกของการติดเชื้อ Trichomonas มากที่สุด รองลงมาคือ Coccidia, Hookworms และ Roundworms คิดเป็นร้อยละ 15.91, 6.82, 4.55 และ 3.41 ตามลำดับ ในด้านปัจจัยการติดเชื้อจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารในแต่ละเพศ พบว่าสุนัขเพศผู้มีความชุกการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารมากกว่าสุนัขเพศเมีย คิดเป็นร้อยละ 20.00 และพบว่าแมวเพศเมียมีความชุกการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารมากกว่าแมวเพศผู้ คิดเป็นร้อยละ 30.30 กลุ่มสองการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารในกลุ่มของอายุ พบว่าสุนัขมีการติดเชื้อสูงสุดอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 6 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 1-6 ปี และน้อยกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.71, 20.00 และ 12.77 ตามลำดับ และพบว่าแมวมีการติดเชื้อสูงสุดอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 6 ปี รองลงมาคือช่วงอายุน้อยกว่า 1 ปี และ 1- 6 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.00, 30.61 และ 14.29 ตามลำดับ และกลุ่มสามการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารในกลุ่มของการถ่ายพยาธิ พบว่าสุนัขและแมวมีการติดเชื้อในกลุ่มที่ไม่เคยได้รับการถ่ายพยาธิมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการถ่ายพยาธิ คิดเป็นร้อยละ 34.62 และ 31.58 ตามลำดับ จากการฝึกสหกิจในครั้งนี้ทางผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาความชุกและปัจจัยย้อนหลังของการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหารของสุนัขและแมว เพื่อหาวิธีป้องกันทางระบาดวิทยาและเป็นประโยชน์ในการควบคุมป้องกันการติดเชื้อ และเป็นประโยชน์ต่อสถานที่ประกอบการ |