Title
|
ประเมินมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ/ อาหารพร้อมบริโภคในจุดผ่อนผันเขตเทศบาลนครนครราชสีมา |
Creator
|
นางสาวณัฐภรณ์ ทิพย์บุญผล |
Description
|
โครงการประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ/อาหารพร้อมบริโภคในจุดผ่อนผันเขตเทศบาลนครนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ/อาหารพร้อมบริโภคในจุดผ่อนผันเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ให้ผ่าน ตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร :SAN ?การจำหน่ายอาหารในที่หรือทางสาธารณะ? ของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
ผลการศึกษา พบว่า โดยลงพื้นที่ตรวจประเมินทั้งหมด 288 แผง พบว่าแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ/อาหารพร้อมบริโภคในจุดผ่อนผันเขตเทศบาลนครนครราชสีมา 7 จุดผ่อนผัน ที่ขายอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทานมีทั้งหมด 245 แผง โดยแต่ละข้อ 20 ข้อ สรุปผลรวมการตรวจประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร :SAN ?จำหน่ายอาหารในที่หรือทางสาธารณะ? กรมอนามัย แผงลอยที่ผ่านคิดเป็นร้อยละ 76.24 ไม่ผ่านคิดเป็นร้อยละ 22.45 และไม่มีกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ 1.31 จากการตรวจสอบแผงลอยจำหน่ายอาหารในจุดผ่อนผันของเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 245 แผง พบว่าโดยภาพรวม แผงจำหน่ายอาหาร ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ด้านสุขาภิบาลอาหาร อยู่ในระดับที่ดี โดยมีค่าเฉลี่ยของแผงลอยที่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 71.82 ขณะที่แผงลอยที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 22.99 และแผงลอยที่ไม่มีการดำเนินกิจกรรมอยู่ที่ร้อยละ 5.19 การวิเคราะห์ผลการตรวจสอบตามหมวดหมู่เพื่อให้เห็นถึงแนวโน้มของปัญหาและข้อบกพร่องที่พบในการตรวจสอบ แผงลอยถูกแบ่งออกเป็น 5 หมวดหลัก ซึ่งมีผลการประเมินเป็นดังนี้ หมวดที่ 1 สถานที่ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 76.28 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 22.45 ร้อยละไม่มีกิจกรรม 1.28 แผงลอยส่วนใหญ่มีสถานที่ตั้งถูกต้องตามกฎหมายและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีบางส่วนที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด เช่น ความสะอาดของแผงหรือพื้นที่จำหน่ายอาหาร และความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง หมวดที่ 2 อาหาร ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 76.73 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 21.29 ร้อยละไม่มีกิจกรรม 1.97 คุณภาพและความปลอดภัยของอาหารโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี ส่วนที่ยังต้องปรับปรุง ได้แก่ การจัดเก็บอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่น การปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการปรุงอาหาร หมวดที่ 3 ภาชนะอุปกรณ์ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 77.74 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 21.63 ไม่มีกิจกรรมร้อยละ 0.63 แผงลอยส่วนใหญ่ใช้ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาดและมีสภาพดี แต่ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาชนะในลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการขาดอุปกรณ์สำหรับป้องกันการปนเปื้อนของอาหาร หมวดที่ 4 บุคคล ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 71.22 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 28.57 ไม่มีกิจกรรมร้อยละ 0.20 เป็นหมวดที่มีอัตราการไม่ผ่านเกณฑ์สูงกว่าหมวดอื่น ปัญหาหลักคือผู้สัมผัสอาหารบางส่วนยังไม่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี เช่น การแต่งกายไม่เหมาะสม ไม่มีเครื่องป้องกันการปนเปื้อนที่เพียงพอ และบางส่วนยังไม่มีหลักฐานผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารตามที่กำหนด หมวดที่ 5 สัตว์และแมลงนำโรค ผ่านเกณฑ์ร้อยละ78.37ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 20.37 ไม่มีกิจกรรมร้อยละ 1.63
|
Subject
|
อนามัยสิ่งแวดล้อม, คณะสาธารณสุขศาสตร์ |