Title การศึกษาการปล่อยมลพิษจากรถยนต์และทัศนคติของประชาชนที่ถูกจับปรับรถปล่อยควันดำเกินมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา The Study of Vehicle Emissions and Public Attitudes Toward Fines for Excessive Black Smoke Emissions in Nakhon Ratchasima Province
Creator นางสาววิวรรยา มหาโชคชัย
Description การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การปล่อยมลพิษจากรถยนต์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในปี 2567ความรู้ด้านมลพิษทางอากาศทัศนคติเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศการปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์หลังจากได้รับคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย การตรวจจับรถควันดำตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 130 คน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มาขอยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวที่ส านักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา)ระหว่างวันที่ 20 มกราคม ? วันที่ 7 มีนาคม 2568 จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรม ?รัฐเข้มตรวจจับ ปรับจริง?ห้ามใช้รถควันดำ? ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาตั้งแต่มกราคม 2567 ? ธันวาคม 2567 จำนวน 433 คัน มีรถค่าควันดำเกินมาตรฐาน จำนวน 97 คัน จากค่าความทึบแสงที่ตรวจวัด คาดการณ์ทำให้เกิดฝุ่นPM 2.5 จากคำนวณ 60.65ตัน/ปีและหากเปรียบเทียบกับ ระยะทางที่รถวิ่งเฉลี่ยทั้งปี 76,386 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 63.62ตัน/ปีหลังจากปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ รถมีค่าควันดำไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 61 คัน คาดการณ์ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 จากคำนวณ 5.92 ตัน/ปีและหาก เปรียบเทียบกับระยะทางที่รถวิ่ง เฉลี่ยทั้งปี 76,386 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 6.08 ตัน/ปี กิจกรรมฯ สามารถลดฝุ่น PM 2.5 จากการคาดการณ์ที่คำนวณได้ 54.73ตัน/ปีหรือ 90.24% ของจำนวนฝุ่น PM 2.5 ที่คำนวณได้จากรถที่เรียกตรวจแล้วมีค่าควันดำเกินมาตรฐาน และหากเปรียบเทียบกับระยะทางที่รถวิ่งเฉลี่ยทั้งปี 76,386 กิโลเมตร สามารถลดฝุ่น PM 2.5 จากการคาดการณ์ที่คำนวณได้ 57.54ตัน/ปีหรือ 90.44 % ของจำนวนฝุ่น PM 2.5 ที่คำนวณได้จากรถที่เรียกตรวจแล้วมีค่าควันดำเกินมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมาพบว่า ผู้ใช้รถยนต์ที่มาขอยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา) เป็นเพศชายทั้งหมด ร้อยละ 100.0 ส่วนใหญ่มีอายุ 21 ? 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 73.3 รองลงมาอายุ 36 ? 50 คิดเป็นร้อยละ 26.70 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับทราบข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมมลพิษ (ควันดำ) จากยานพาหนะ คิดเป็นร้อยละ 73.3 รองลงมาไม่ทราบข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 26.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานมลพิษที่ระบายออกจากยานพาหนะ คิดเป็นร้อยละ 60.0 รองลงมาไม่ทราบข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 40.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยได้รับข้อมูล แผ่นพับ/เอกสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมควันดำจากยานพาหนะ คิดเป็นร้อยละ 56.7 รองลงมาไม่เคยได้รับข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 43.3 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการควบคุมควันดำจากยานพาหนะในพื้นที่จากสื่อออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 100.0 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน ตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อคิดเป็นร้อยละ100.0 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 30 คน มีทัศนคติเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเห็นด้วยกับข้อคำถาม คิดเป็นร้อยละ 100.0 ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดมีการปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์หลังจากได้รับคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 100.0
Subject อนามัยสิ่งแวดล้อม, คณะสาธารณสุขศาสตร์
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2025-04-10
2
หน้าปก 2025-04-10
3
รวมทั้งหมด 2025-04-10