Description
|
บทคัดย่อ
งานประเมินผลโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนวิธีการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโคตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค ตำบล รังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการ บ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค จำนวน 69 ครัวเรือน และ ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็นใช้ในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละอย่างง่าย นำเสนอด้วยการพรรณนา วิเคราะห์ ผู้วิจัยขอเสนอผลสรุปการประเมินดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า : 1) ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมการประชุมทุกครั้ง ใน 11 ขั้นตอน
จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่สะท้อนว่า การมีส่วนร่วมการประชุมทุกครั้ง ใน 11 ขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.68 , S.D. = 0.52) เพราะว่า สมาชิกส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ทำให้การเข้าร่วมประชุมอยู่ในระดับมาก เป็นเพราะการทำข้อตกลง ร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนและสมาชิกในโครงการว่า หากสมาชิกขาดการมีส่วนร่วมในการประชุมหรือไม่มาประชุม โดยไม่มีเหตผล เกิน 3 ครั้ง อาจถูกพิจารณาสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ จึงทำให้สมาชิกเห็นถึงความสำคัญของการประชุมและเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น
2) ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ใน 11 ขั้นตอน จากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่สะท้อนว่า การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ใน 11 ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก (Xี = 4.21 , S.D. = 0.72) เพราะว่า ก่อนการประชุมใหญ่ในแต่ละครั้ง คณะกรรมการจะมีการนัดหมายสมาชิกเพื่อได้ประชุมกันล่วงหน้าเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปแนวทางร่วมกัน จากนั้นความคิดเห็นที่ได้จะถูกนำเสนอในที่ประชุมใหญ่ จึงทำให้ทุกคนรู้สึกว่ามีส่วนร่วมและมีโอกาสแสดงความเห็นของตนเอง ซึ่งช่วยให้การดำเนินโครงการเป็นไปในทิศทางที่ทุกฝ่ายยอมรับและร่วมกันตัดสินใจ
3) ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ใน 11 ขั้นตอน จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่สะท้อนว่า การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ใน 11 ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก (หิ = 4.38, S.D. = 0.65) เพราะว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการบ้านมั่นคงชนบท วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค แต่ยังมีสมาชิกบางส่วนที่รู้สึกไม่มั่นใจหรือไม่กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเอง หรือไม่มั่นใจว่าความคิดเห็นของตนเองจะได้รับการยอมรับ แต่ในทุกครั้งที่มีการประชุมและการทำกิจกรรมจะมีทางเจ้าหน้าที่ พอช. และผู้คณะกรรมการ ได้ทำการแบ่งกลุ่ม ย่อยระหว่างการประชุมและการทำกิจกรรมต่างๆ จึงทำให้สมาชิกได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันในกลุ่มเล็กๆ ก่อน เมื่อต้องตัดสินใจจริงก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้น และกล้าแสดงความเห็นของตนเองมากขึ้น |