Title
|
การศึกษานโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศไทย |
Creator
|
นางสาวจุฑาภัทร หนองแบก |
Description
|
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของ
กระทรวงคมนาคมในประเด็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. เพื่อศึกษาโครงการการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานของรัฐบาลไทยในด้านคมนาคม 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนปฏิบัติงาน
ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทยกับโครงการแม่โขงเซฟการ์ด โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้
เครื่องมือ คือ ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร เอกสารทาง
วิชาการต่าง ๆ และสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ที่เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับบทบาทและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในประเด็นการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และใช้หลักวิเคราะห์ข้อมูล 3
ประการ คือ 1) การลดทอนและกลั่นกรองข้อมูล (Data reduction) 2) การแสดงข้อมูล (Data Display)
3) การหาข้อสรุปและตรวจผลการวิจัย (Conclusion and Verification)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานของกระทรวงคมนาคมในประเด็นการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน พบว่า กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
โดยมุ่งเน้นการบูรณาการระบบขนส่ง พัฒนาระบบรางและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก รวมถึงนำเทคโนโลยี
และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ นโยบายเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง ลดต้นทุน
การเดินทาง และสร้างความสะดวกสบายให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ รวมไปถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ที่ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน
หลายด้าน เช่น คมนาคม โลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และพลังงาน ซึ่งแผนดังกล่าวให้ความสำคัญ
กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2) โครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทยในด้านคมนาคม พบว่า โครงการรถไฟ
ความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเพื่อเชื่อมโยงโครงข่าย
คมนาคมของไทยกับประเทศที่อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการเดินทางและการขนส่งสินค้าลดระยะการเดินทางและกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนว
เส้นทาง นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องงบประมาณและความล่าช้าของโครงการที่ต้องได้รับการจัดการ และ
การนำมาตรฐานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA และมาตรฐาน ESG ใช้ในการวางแผนและดำเนินการ
ก่อสร้างเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแผนปฏิบัติงานด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลไทย
กับโครงการแม่โขงเซฟการ์ด พบว่า โครงการแม่โขงเซฟการ์ดมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานของรัฐบาลไทยหลายด้าน โดยเฉพาะการเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน การกำกับดูแลที่โปร่งใส และการ
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารคสนับสนุนซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี |
Subject
|
การพัฒนาสังคม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |