Description
|
บทคัดย่อ
งานประเมินผลโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนวิธีการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค 2)
เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คือ ผู้เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค จำนวน 69 ครัวเรือน และผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้ในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละอย่างง่าย นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผู้วิจัยขอเสนอผลสรุปการประเมินดังนี้ผลการวิจัยพบว่า : 1) ผลการศึกษาขั้นตอนวิธีการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยโครงการ บ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค พบว่า (1) การสร้างความเข้าใจให้ข้อมูลเป้าหมาย แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัย แม้จะมีปัญหาความเข้าใจไม่ชัดเจนในบางสมาชิกแต่ได้มีการแก้ไขโดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายและจัดประชุมย่อยเพื่อให้ข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น
(2) การสำรวจข้อมูลชุมชนและครัวเรือน พบปัญหาความล่าช้าในการเก็บข้อมูลจากบางครัวเรือนเนื่องจากความไม่สะดวกหรือความกังวลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการจึงได้ปรับปรุงกระบวนการสำรวจโดยใช้วิธีการสำรวจแบบกลุ่มย่อยเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพ (3)การจัดระบบกลุ่มออมทรัพย์และส่งเสริมการออม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างวินัยทางการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับสมาชิกในชุมชน แต่พบปัญหาการเข้าใจผิดจากสมาชิกบางคน ซึ่งทำให้ไม่อยากเข้าร่วมกลุ่ม (4) การพิจารณาสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยและรับรองสิทธิการอยู่อาศัย พบปัญหาการไม่เข้าใจเกณฑ์การ พิจารณาสิทธิ์จากบางคน เจ้าหน้าที่ พอช. จึงได้อธิบายเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน (5) การประชุมเพื่อจัดการที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน โดยพิจารณาคุณภาพดินและสภาพแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน (6) การออกแบบผังชุมชน/ รูปแบบบ้าน ได้นำเสนอแบบ บ้านและขนาดที่เหมาะสมกับที่ดินของสมาชิก เพื่อให้เลือกแบบที่ตรงกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ (7) การเสนอโครงการและงบประมาณ/ อำนวยสินเชื่อ การประชุมชี้แจงจัดอบรมให้ความรู้และอธิบายขั้นตอนการขอสินเชื่อเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายขึ้น (8) เตรียมการรื้อย้าย/ก่อสร้างบ้านและจัดหาที่อยู่อาศัยชั่วคราว ชุมชนมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการอยู่อาศัยระหว่างการก่อสร้าง ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น (9) การเบิกจ่ายงบประมาณและการทำนิติกรรมสัญญา ได้มีการชี้แจงขั้นตอนการเบิกจ่ายและการทำสัญญาอย่างโปร่งใส (10) การจัดการงานก่อสร้างดำเนินการโดยคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้จัดซื้อวัสดุ และสมาชิกเป็นผู้จ้างผู้รับเหมาด้วยตนเอง โดยมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมคุณภาพ (11) การประชุมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านช่องโคมุ่งเน้นส่งเสริมอาชีพ พัฒนา ทักษะ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของชาวบ้าน ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 2) ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค พบว่า (1) การมีส่วนร่วมการประชุมทุกครั้ง อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.60 , S.D. = 0.61) (2) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก (X = 4.21 , S.D. = 0.72) (3) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับมาก (X = 4.38 , S.D. = 0.65) 3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคงชนบทวิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากบ้านช่องโค พบว่าแนวทางที่ได้ คือ (1) พอช. ควรให้ข้อมูลที่ชัดเจน จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการที่กระชับและเข้าใจง่าย และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบโครงการมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงรับฟัง ข้อเสนอแนะจากประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชน (2) พอช. จัดประชุมอย่างต่อเนื่องและกระชับประชุมสม่ำเสมอไม่ยืดยาว เน้นเนื้อหาสำคัญสรุปประเด็นชัดเจนเพื่อให้คนตามทัน (3) พอช.จัดกิจกรรมอบรมเพิ่มความรู้ เช่น เรื่องงบประมาณ เอกสารหรือการบริหารโครงการช่วยให้ชาวบ้านเข้าใจภาพรวมและกล้าตัดสินใจร่วมมาก (4) ประชาชน ควรมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน ติดตามความคืบหน้าของโครงการ และเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
(5) ประชาชน ควรช่วยกันสร้างบรรยากาศร่วมมือ เปิดใจฟังผู้อื่น เคารพความเห็นต่างร่วมมือกับคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ (6) ประชาชน ควรแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ กล้าเสนอความคิดของตนเองหรือปัญหาที่พบและการใช้เวทีเล็กเพื่อซักซ้อมก่อนพูดในเวทีใหญ่
|