Title การศึกษาเปรียบเทียบอัตราส่วนโปรตีนและครีเอตินีนในปัสสาวะ ระหว่างเครื่องตรวจวิเคราะห์สารเคมีอัตโนมัติและแถบตรวจปัสสาวะ Comparison of urine test strips with automatic chemical analyzers for determining urine protein-creatinine ratio in dogs and cats.
Creator นางสาวศศิวรรณ ยวงแก้ว
Description ในการวิจัยเรื่อง การศึกษาการเปรียบเทียบอัตราส่วนโปรตีนและครีเอตินีนในปัสสาวะของสุนัข และแมวในเขตกรุงเทพมหานครมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราส่วนโปรตีนและครีเอตินีนในปัสสาวะด้วยแถบตรวจปัสสาวะสำเร็จรูปสำหรับสัตว์กับเครื่องตรวจวิเคราะห์สารเคมีอัตโนมัติ Olympus AU400 เพื่อให้ผู้ประกอบการ ทั้งในส่วนของห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์หรือสัตวแพทย์ในสถานพยาบาลสัตว์ สามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการตรวจวิเคราะห์ค่าโปรตีน ครีเอตินิน และอัตราส่วนโปรตีนต่อครีเอตินินในปัสสาวะ ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพต่อการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้ การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างปัสสาวะของสัตว์จำนวน 60 ตัว แบ่งเป็นสุนัข 30 ตัวอย่าง และแมว 30 ตัวอย่าง จากสถานพยาบาลสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ส่งมาตรวจหาค่า Urine Protein (UP) และ Urine Creatinine (UC) ที่ เซ็นทรัล แล็บ ศูนย์ห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ ผลการศึกษาพบว่าการตรวจวิเคราะห์ค่า Urine Protein Creatinine ratio ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์เคมีอัตโนมัติ Olympus AU400 กับแถบตรวจปัสสาวะสำเร็จรูปที่จำเพาะกับสัตว์ แบรนด์ A และแบรนด์ B ปรากฏว่า การตรวจปัสสาวะด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติกับแถบตรวจปัสสาวะแบรนด์ A มีความแตกต่างกันทั้งในสุนัขและแมว ส่วนการตรวจปัสสาวะด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติกับแถบตรวจปัสสาวะแบรนด์ B ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในสุนัขและแมว สุดท้ายจึงทำการปรียบเทียบการตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจปัสสาวะแบรนด์ A กับแถบตรวจปัสสาวะแบรนด์ B ผลปรากฏว่าแถบตรวจปัสสาวะทั้ง 2 แบรนด์มีความแตกต่างกันทั้งในสุนัขและแมว ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจปัสสาวะแบรนด์ B ให้ผลลัพธ์ในการทดสอบใกล้เคียงกับการตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะโดยใช้แถบตรวจปัสสาวะ (Urine test strip) ในการตรวจค่าอัตราส่วนโปรตีนและครีเอตินีน (Urine Protein and Creatinine Ratio) มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นแถบตรวจที่เลือกมาใช้ เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะสัตว์ ควรมีการพิจารณาประสิทธิภาพและความแม่นยำของแถบตรวจนั้น ๆ เทียบกับวิธีมาตรฐานก่อนการนำมาใช้
Subject เทคนิคการสัตวแพทย์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
หน้าปก 2020-03-23
2
โปสเตอร์ 2020-03-24
3
โปสเตอร์ 2020-03-24
4
รวมทั้งหมด 2020-03-23