Title การจัดการพื้นที่และแผนผังคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) สำหรับ สินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา YPS Logistics
Creator นางสาวศิริลักษณ์ อาสาคะติ
Description ห้างหุ้นส่วนจำกัดยิ่งไพศาลโลจิสติกส์ (YPS Logistics) ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ และขนส่งสินค้าข้ามแดน จึงต้องมีการลงทุนเช่าพื้นที่สำหรับทำศูนย์กระจายสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ปัจจุบันบริษัท YPS Logistics ได้มีการวางแผนที่จะสร้างคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า Cross dock สินค้าจะอยู่ในกระบวนการภายในคลัง 3 ส่วนได้แก่ ส่วนรับสินค้า ,ส่วนคัดแยก-รวบรวม ,ส่วนจัดส่ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงเท่านั้น จึงทำให้ต้องมีการวางแผน หาข้อมูล และวิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย ,พื้นที่จัดเก็บ สำหรับจัดตั้งคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า Cross dock เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าต่อได้อย่างรวดเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาการจัดการพื้นที่คลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) 2.เพื่อออกแบบแผนผังในการจัดการคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) พบว่า คำนวณหาพื้นที่ทั้ง 3 ส่วน สามารถออกแบบแผนผังคลังได้ ซึ่งคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross dock) ที่มีลักษณะยาวและแคบ เป็นรูปร่างตัวไอ (I) สาเหตุที่เลือกรูปร่างตัวไอคือ ปริมาณพา-เลท/วัน ไม่ได้มีจำนวนมาก ทำให้การเลือกรูปร่างนี้มีความสะดวกมากที่สุด ลดต้นทุนมากที่สุด และคาดว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยมีระยะทางน้อยที่สุด จะเห็นได้ว่าสินค้าจะไหลเป็นเส้นตรงจากรถบรรทุกขาเข้าไปยังรถบรรทุกขาออก ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าแรง วิเคราะห์ส่วนที่สอง ส่วนSorting (รวม-คัดแยก) เนื่องจากคลังสินค้าแบบท่าเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock) ไม่ได้ต้องการการจัดเก็บสินค้าทั้งหมด แต่องค์กรก็จะต้องคำนึงถึงการมีพื้นที่ให้เพียงพอต่อจำนวนพาเลทที่จะเข้ามา ซึ่งจะได้พื้นที่ที่ใช้วางพาเลททั้งหมด 135x0.99 = 133.65 ตารางเมตร เมื่อนำพื้นที่ทางเดินทั้งหมด+พื้นที่วางพาเลททั้งหมดจะได้ 133.65+227.7 = 361.35 ตารางเมตร พื้นที่ส่วน Sorting รวมทั้งหมดแล้วจะได้ กว้าง 15 เมตร x ยาว 29.3 เมตร = 439.5 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนรับสินค้า คำนวณเป็นอันดับที่สอง และได้กำหนดให้มีพื้นที่ส่วนรับสินค้า 2 ส่วนได้แก่ส่วน A, C โซนA และโซนC พื้นที่ทั้งหมด 15 เมตร x 14 เมตร = 210 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนจัดส่งสินค้า จะคำนวณเป็นส่วนสุดท้าย ซึ่งความกว้างของตัวคลังจะเท่า 2 ส่วนแรก คือจำกัดความกว้างที่ 15 เมตร และในคลังจะมีการจัดส่งสินค้าทั้งหมด 16 รอบ/วัน พื้นที่เตรียมส่งลูกค้าส่วนที่ 1,2,3 กว้าง 3 เมตร และพื้นที่ส่วนจัดส่งทั้งหมด กว้างxยาว= 15x12 = 180 ตารางเมตร คำนวณหาส่วนอื่นๆ ที่ทางสถานประกอบการได้กำหนดว่าต้องมี ได้แก่ ออฟฟิศ ห้องน้ำ ห้องจัดเก็บสินค้าที่มีตำหนิและต้องส่งกลับ ห้องเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ห้องพักพนักงาน และที่จอดรถ จากนั้นจะทำการดูกฎหมายผังเมืองเพื่อหาระยะร่นของอาคารคลังสินค้าว่า อาคารคลังสินค้าที่มีพื้นที่ทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างจากเขตที่ดิน 10 เมตรสองด้าน 5 เมตรสองด้าน จากนั้นทำการออกแบบ 3 มิติโดยเว็บไซต์ Icograms
Subject การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะวิทยาการจัดการ
รายการไฟล์ที่อัพโหลด
ลำดับ
ชื่อไฟล์
วันที่อัพโหลด
1
โปสเตอร์ 2021-12-04
2
หน้าปก 2021-12-04
3
รวมทั้งหมด 2021-12-04