สหกิจศึกษา (โปสเตอร์งานนักศึกษาสหกิจศึกษา)

         

ผลของการเปรียบเทียบการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบ passiveที่ส่งผลต่อพลังของกล้ามเนื้อขาในการยืนกระโดดสูง Vertical jump test ของสมาชิกFitness Lifestyle Donthongการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อก่อนการทดลองและหลังการ ทดลองของการยืดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสมาชิก Fitness ifestyle ดอนทอง เพศชาย และหญิงจำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นทำการ แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยวิธีการยืนกระโดดสูง Vertical jump Test หรือกระโด แตะฝาผนังเข้ากลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะทำการทดลอง 2รูปแบบ วันละละ 1 รูปแบบ โดยแบ่งเป็น รูปแบบที่ 1 ทำการยืดเหยียดแบบ Passive Stretching โดยมีผู้ช่วยหรืออุปกรณ์ในการยืดเหยียด รูปแบบที่ 2 ทำการนวด กระตุ้นกล้ามเนื้อ ในส่วนของการทดสอบนั้น จะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการทดลอง โดย ค่าที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดช้ำ (One - way analysis of variance with repeated measure ) ในแต่ละรูปแบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคูโดย วิธีการของแอลเอสดี และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ค่าการแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two way anova with repeated measure) โดยรวมผลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ เข้าไว้ด้วยกัน ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ พบว่า ผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองในแต่ละรูปแบบนั้น แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทดลองที่ 2 ก็มีเปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่มื่อนำผลการทดลองทั้ง 2 รูปแบบมาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ผลฉับพลันของการยึดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุ้นที่ใช้ใน งานวิจัยครั้งนี้ สามารถที่จะนำไปประยุกตีใช้ได้จริง ในการเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ
จัดทำโดย : นายสหรัฐ ศรีมา
ปีที่จัดทำ : 2/2563
สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย